วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552

บรรณานุกรม

------------------------------------------------------หน้า 2
บรรณานุกรม
เรวัต ศูนย์กลาง.2551.พลังงานน้ำ.สืบค้นข้อมูลเมื่อ13กรกฏาคม2552.จาก http://www.rawet56.multiply.comjoumal/item/2/2
วิกิพีเดีย สารานุกรม.2552.ประเภทของพลังงานน้ำ.สืบค้นเมื่อ13กรกฏาคม2552.จาก
สุบัณฑิต นิ่มรัตน์.2548.การบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยสู่แหล่งน้ำ.สืบค้นข้อมูลเมื่อ13กรกฏาคม2552.จาก

วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เนื้อเรื่อง

------------------------------------------------------หน้า 1
บทนำ
-------พลังงานน้ำเป็นพลังงานหมุนเวียน น้ำจะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ต้องมีการกักเก็บน้ำไว้ เพื่อเป็นการสะสมกำลัง โดยการก่อสร้างเขื่อนหรือฝายปิดลำน้ำที่มีระดับความสูงเป็นพลังงานศักย์ และผันน้ำเข้าท่อไปยังเครื่องกังหันน้ำขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังน้ำ



ความหมายของพลังงานน้ำ

.......การนำน้ำมาผลิตกระแสไฟฟ้าได้เริ่มขึ้นโดยนำน้ำไหลหรือน้ำตกมาใช้หมุดล้อเพื่อให้กำเนิดพลังงานไฟฟ้า ในช่วง 2-3 ทศวรรษ ที่ผ่านมาความจำเป็นที่ใช้พลังงานน้ำ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันเขื่อนที่สร้างขึ้นผลิตกระแสไฟฟ้ามีทั่วประเทศประมาณ 14 แห่ง สามารถผลิตำลังงานไฟฟ้าได้มากกว่า 2.5 ล้าน กิโลวัตต่อปี (เรวัต ศูนย์กลาง 2551)



การบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยสู่แหล่งน้ำ

....... การบำบัดน้ำเสียจะประกอบด้วย 4 ขั้นตอนใหญ่ ๆ คือ
1. การบำบัดเบื้องต้น (primary treatment) คือขบวนการกวาดเศษขยะชิ้นใหญ่ที่ปะปนมากับน้ำเสียหรือใช้กระบวนการตกตะกอนให้สารแขวนลอยขนาดที่สามารถจมตัวลงได้เองเกิดการจมตัวเพื่อเป็นการช่วยให้น้ำเสียที่จะผ่านในการบำบัดขั้นต่อไปไม่เกิดการอุดตันหรือเกิดความเสียหายต่อระบบอื่น ๆ ได้
2. การบำบัดขั้นที่ 2 (secondary treatment) ซึ่งจะเป็นขบวนการบำบัดขั้นที่สำคัญที่สุดในการบำบัดน้ำเสีย ตามหลักการขั้นตอนนี้จะเป็นขั้นตอนที่มีการบังคับให้มีในทุกระบบบำบัดน้ำเสียเพราะจะเป็นขั้นตอนที่จะบำบัดสารปะปนอยู่ในน้ำเสียได้สูงถึง 80-99 เปอร์เซ็นต์ การบำบัดขั้นตอนนี้สามารถบำบัดได้ทั้งแบบที่ใช้สารเคมีหรือแบบที่ใช้จุลินทรีย์ในการย่อยสลายสารปนเปื้อน โดยทั่ว ๆ ไปถ้าเป็นสารที่ไม่มีความสกปรกมากนักมักจะใช้ขบวนการเติมสารเคมีเพราะจะไม่สิ้นเปลืองเท่าไหร่นัก แต่ในกรณีที่ปนเปื้อนด้วยสารอินทรีย์ปริมาณมากมักจะใช้การบำบัดแบบที่ใช้จุลินทรีย์เพราะจะมีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่ามากเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้สารเคมี การบำบัดแบบที่นิยมใช้กันทั่วโลกคือวิธีที่เรียกว่า วิธีแอคทิเวเต็ดสลัดด์ (activated sludge) ซึ่งเป็นวิธีที่นำเอาจุลินทรีย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ก๊าซออกซิเจนทำการย่อยสารปนเปื้อนในน้ำเสียให้หมดไป แต่วิธีนี้จะมีค่าใช้จ่ายในการเติมก๊าซออกซิเจนและค่าการซ่อมบำรุงรวมทั้งค่าควบคุมระบบค่อนข้างสูง ดังนั้นในปัจจุบันได้เริ่มมีการนำเอาระบบบำบัดแบบไม่ใช้ก๊าซออกซิเจนมาใช้บ้างแล้วล่ะค่ะเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเติมก๊าซออกซิเจนนั่นเอง
3. การบำบัดขั้นที่ 3 (tertiary treatment) ซึ่งเป็นวิธีที่ทำการบำบัดเพิ่มเติมจากขั้นที่ 2 ขั้นตอนจะเพิ่มเข้ามาในระบบบำบัดน้ำเสียเมื่อสารปนเปื้อนในน้ำเสียนั้นมีสารกลุ่มไนโตรเจนหรือสารฟอสฟอรัสปริมาณสูงและไม่สามารถกำจัดได้หมดจากขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนนี้ก็สามารถใช้ทั้งการเติมสารเคมีหรือการเติมสารจุลินทรีย์กลุ่มที่เหมาะสมในการบำบัด
4. ขั้นตอนสุดท้ายคือขั้นตอนการฆ่าเชื้อ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากอีกประการหนึ่งเพราะจะเป็นขั้นตอนที่ทำลายเชื้อก่อโรคให้หมดไปก่อนที่จะปล่อยน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดจากขั้นตอนที่ 1 ถึง 2 หรือ 3 ร่วมกับการปรับค่าความเป็นกรดเป็นด่างให้มีประมาณ 7 และอุณหภูมิของน้ำประมาณ 25-30 องศาเซลเซียสเพื่อจะไม่มีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำต่อไป การฆ่าเชื้อโดยทั่วไปก็จะใช้การเติมสารคลอรีนที่มักจะเติมในสระว่ายน้ำนั่นเองเพราะเป็นสารที่มีราคาเหมาะสมและไม่มีผลกระทบข้างเคียงมากนัก (วิกิพีเดียสารานุกรม 2552)



ประเภทของพลังงานน้ำ

........ปัจจุบันนี้ พลังงานน้ำได้ถูกนำไปใช้ในหลายรูปแบบด้วยกัน
กังหันน้ำ (Waterwheel) เป็นรูปแบบการใช้พลังงานน้ำที่เก่าแก่ที่สุด
-----------การผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ (Hydroelectric Energy) โดยมากแล้วจะได้
-----------พลังงาน ประเภทนี้จากเขื่อน หรือกังหันน้ำขนาดเล็กตามกระแสน้ำเชี่ยวต่างๆ
Tidal Power
Tidal Stream Power
พลังงานคลื่น (Wave Power) (สุบัณฑิต นิ่มรัตน์ 2548)

วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สารบัญ

---------------------------------------------------------หน้า ข
สารบัญ

เรื่อง-------------------------------------------------------หน้า
คำนำ-------------------------------------------------------

สารบัญ
-----------------------------------------------------
บทนำ-------------------------------------------------------1
ความหมาย--------------------------------------------------1
การบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยสู่แหล่งน้ำ----------------------1

ประเภทของพลังงานน้ำ-------------------------------------1
บทสรุป------------------------------------------------------1
บรรณานุกรม-------------------------------------------------2

คำนำ

----------------------------------------------------------หน้า ก
คำนำ
.......รายงานฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับพลังงานน้ำโดยรวบรวมจากแหล่งสารสนเทศทั้งที่เป็นเอกสารและบทความ ที่ออนไลน์บนอินเตอร์เน็ต หวังว่าคงจะมีประโยชน์แก่ผู้อ่านตามสมควร
.......ผู้จัดทำขอขอบคุณครูและผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือให้รายงานเล่มนี้สำเร็จด้วยดี
นาย วัลลภ กุศลทรามาส
วันที่ 25 สิงหาคม 2552

ปกใน

พลังงานน้ำ
นาย วัลลภ กุศลทรามาส
รหัส 5231010004
แผนกวิชา เทคนิคยานยนต์
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชาห้องสมุดกับสารสนเทศ รหัสวิชา 3000-1601
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552
วิทยาลัยเทคนิคนครปฐม

วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ปกนอก

พลังงานน้ำ
วัลลภ กุศลทรามาส
5231010004
แผนก เทคนิคยานยนต์